สนใจติดต่อสั่งซื้อ

ยาดมสมุนไพรอินทน์-จันทน์ ท่านสามารถโทรมาสอบถาม หรือสั่ง
ซื้อได้ที่หมายเลข 0815612787,0839239741

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของยาดมสมุนไพร

ประโยชน์ของยาดมสมุนไพร


        1. ใช้สูดดม ยาดม ใช้สูดดม บรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย เป็นหวัด คัดจมูก
        3. ทำเป็นของชำร่วย ใช้แจกในงายพิธีต่างๆ เช่น งานศพ
        4. ช่วยในการสูดดมเพื่อผ่อนคลาย ทำให้สดชื่น

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เครื่องดื่มดับร้อน-ขับพิษ

 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ “ตำรับตรีผลา” เครื่องดื่มดับร้อน-ขับพิษ ชวนคนไทยบริโภคเพื่อสุขภาพ
      
       วันนี้ ( 21 เม.ย.) นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เนื่องจากช่วงฤดูร้อน หากประชาชนทั่วไปต้องการที่จะหาวิธีคลายร้อน ให้มีสุขภาพดี แนะนำว่า การใช้ตำรับยาแบบไทยๆ ก็สามารถช่วยดับความร้อนได้ดี ที่นิยม คือ ตำรับตรีผลา หรือตรีผล เป็นยาตำรับสมัยพุทธกาล คือ การนำผลไม้ไทย 3 ชนิด ได้แก่ สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม มาปรุงเป็นยาปรับธาตุในหน้าร้อน มีสรรพคุณช่วยรักษาความสมดุลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย และเป็นยาที่ปลอดภัยไร้พิษข้างเคียงใดๆ ช่วยล้างพิษออกจากระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด ระบบน้ำเหลือง และใช้ได้กับคนทุกธาตุ ทุกเพศทุกวัย
      
       “สำหรับ สมอไทย มีรสเปรี้ยวฝาด ขม แทรกด้วยรสเค็ม สรรพคุณช่วยกัดเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ แก้ท้องผูก แก้ไข้ บำรุงน้ำดี ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งรสฝาดช่วยสมานแผล แก้โรคกระเพาะอาหาร คนโบราณมักกล่าวว่า กินสมอไทยอย่างเดียวเท่ากับกินสมุนไพรหลายชนิด สมอพิเภก มีรสเปรี้ยวฝาด อมหวาน มีสรรพคุณตามตำรายาไทยแก้เสมหะ แก้ไข้ และแก้โรคริดสีดวงทวาร ส่วนที่ใช้ คือ ผลแก่เต็มที่ ส่วนมะขามป้อมมีรสเปรี้ยว ฝาดขม สรรพคุณแก้ไอ แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอ และมีวิตามินซีสูง” นพ.สุพรรณ กล่าว
      
       อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวด้วยว่า กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับวิธีการต้มยาตำรับตรีผลา ในฤดูร้อน จะผสมอัตราส่วนของสมุนไพร สมอพิเภก 12 ส่วน สมอไทย 8 ส่วน มะขามป้อม 4 ส่วน ผสมน้ำ 3 ลิตร ต้มให้เดือด เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน เทกรองกากออก ดื่ม 30 ซีซี ก่อนอาหารเช้า-เย็น กรณีปรุงเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร สูตรของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ใช้อัตราส่วน สมอพิเภก 100 กรัม สมอไทย 200 กรัม มะขามป้อม 400 กรัม (ล้างให้สะอาด) ใส่น้ำ 6 ลิตร ตั้งไฟต้มเดือด 30 นาที ใช้รับประทานก่อนอาหารเช้า-เย็น ครั้งละ 1 แก้ว แต่ถ้าอยากได้แบบเจือจางก็ให้ใส่น้ำมากหน่อย เติมเกลือ น้ำตาล ปรุงรสตามชอบ ชงดื่มในน้ำแข็ง ช่วยให้สดชื่นคลายร้อน
      
       นพ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า อย่าง ไรก็ตาม ขณะนี้มีอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล และ ธรรมศาสตร์ กำลังศึกษาตำรับตรีผลาต้านมะเร็ง จะเห็นว่า นอกจากเป็นยาแล้ว ยังเป็นน้ำสมุนไพรที่ช่วยปรับสมดุลที่ดีเยี่ยมอีกตำรับหนึ่งอีกด้วย

ประวัติหมอชีวกโกมารภัทร

 
 
 
ประวัติปู่ฤๅษี ชีวกโกมารภัทร

หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี นางนครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ซึ่งตำแหน่งนางนครโสเภณีสมัยนั้น เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติเพราะพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ต่างจากสมัยนี้เพราะผู้ประกอบอาชีพนี้เป็นที่ดูหมิ่นเหยียดหยามของบุคคลทั่ว ไป นางสาลวดีตั้งครรภ์โดยบังเอิญ เมื่อคลอดบุตรชายออกมาจึงสั่งให้สาวใช้นำไปทิ้งที่กองขยะนอกเมือง เคราะห์ดีที่อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารไปพบเข้าเสด็จออกไปนอกเมือง จึงทรงนำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ชื่อ "ชีวก" ตั้งขึ้นตามการกราบทูลตอบคำถามพระองค์ที่ตรัสถามว่า "เด็กยังมีชีวิตอยู่รึเปล่า" มหาดเล็กกราบทูลว่า "ยังมีชีวิตอยู่" (ชีวโก) ส่วนคำว่า "โกมารภัจจ์" แปลว่า "กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู" หรือ "กุมารในราชสำนัก" อันหมายถึง "บุตรบุญธรรม" นั้นเอง



เมื่อชีวกโกมารภัจจ์โตขึ้นถูกพวกเด็กๆ ในวังล้อเลียนว่า "เจ้าลูกไม่ีมีพ่อ" ด้วยความมานะจึงหนีพระบิดาเลี้ยงไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักศิลา เพื่อเอาชนะคำดูหมิ่นของพวกเด็กในวังให้ได้ วิชาที่ชีวกเรียนคือวิชาแพทย์ เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียนให้อาจารย์จึงอาสาอยู่รับใช้อาจารย์สารพัดแล้ว แต่ท่านจะใช้ อาศัยเป็นเด็กอ่อนน้อมถ่อมตน มีความเคารพเชื่อฟังอาจารย์ จึงเป็นที่โปรดปรานของอาจารย์มาก มีศิลปวิทยาเท่าไร อาจารย์ก็ถ่ายทอดให้หมดโดยไม่ปิดบังอำพราง ชีวกเรียนวิชาแพทย์อยู่ ๗ ปี จึงไปกราบลาอาจารย์กลับบ้านอาจารย์ได้ทดสอบความรู้โดยให้เข้าป่าไปสำรวจดู ว่าต้นไม้ว่าต้นไหนว่าทำยาไม่ได้ให้นำตัวอย่างกลับมาให้อาจารย์ดู ปรากฏว่าเขาเดินกลับมาตัวเปล่า เพราะต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้หมด อาจารย์บอกว่าเข้าได้เรียนจบแล้วจึงอนุญาตให้เขากลับ หลังจากกลับมายังเมืองราชคฤห์แล้ว ชีวกได้ถวายการรักษาพระอาการประชวรของพระเจ้าพิมพิสารหายขาดจาก "ภคันทลาพาธ" (โรคริดสีดวงทวาร) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวงพร้อมทั้งได้รับพระราชทานสวนมะม่วงให้เป็น สมบัติอีกด้วย



ต่อมาชีวกได้ถวายสวนมะม่วงแห่งนี้ให้เป็นวัดทีประทับของพระพุทธเจ้าและพระ สาวกทั้งหลาย ได้ถวายการรักษาแด่พระบรมศาสดาเมื่อคราวพระองค์ทรงประชวร และถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกด้วย ครั้งหนึ่งเขาได้ถวายการรักษาพยาบาลพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี หายจากโรคร้าย ได้รับพระราชทานผ้าแพรเนื้อละเอียด (ผ้าสีเวยยกะ ผ้าทอที่แคว้นสีวี) มาผืนหนึ่ง เขานำไปถวายพระพุทธเจ้า เนื่องจากสมัยนั้น พระภิกษุสงฆ์ถือผ้าบังสุกุลอย่างเดียว (คือแสวงหาเศษผ้าที่ชาวบ้านเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าห่อศพมาเย็บทำจีวร) พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้รับผ้าจีวรที่คฤหัสถ์ทำถวาย หมอชีวกจึงกราบทูลขอพระพุทธเจ้าให้ทรงรับผ้าแพรที่เขาน้อมถวาย และให้ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าจีวรที่ชาวบ้านผู้มีศรัทธาจัดถวายด้วย พระพุทธเจ้าทรงรับผ้าจากหมอชีวก และประทานอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าที่ชาวบ้านนำมาถวายได้ตั้งแต่บัดนั้น




หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นอุบาสกที่ดีคนหนึ่ง นอกจากการถวายการรักษาพยาบาลพระพุทธเจ้า พระภิกษุสงฆ์ และประชาชนแล้ว ยังหาเวลาเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาข้อข้องใจในธรรมะจากพระพุทธองค์อยู่เนืองๆ มีพระสูตรหลายสูตรบันทึกคำสนทนาและปัญหาของหมอชีวก เรื่องที่หมอชีวกนำขึ้นกราบทูลเพื่อความรู้ที่ถูกต้อง ล้วนเป็นเรื่องที่สำคัญน่ารู้ เช่น พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่ อุบาสกที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร เป็นต้น
ตลอดชีวิตหมอชีวกได้บำเพ็ญแต่สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยไม่เลือกยากดีมีจน จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ (ผู้เป็นเลิศกว่าคนอื่น) ในทาง "เป็นที่รักของปวงชน" ในวงการแพทย์แผนปัจจุบันนี้ ถือว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็น "บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ" เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป

รับทําเว็บไซต์