สนใจติดต่อสั่งซื้อ

ยาดมสมุนไพรอินทน์-จันทน์ ท่านสามารถโทรมาสอบถาม หรือสั่ง
ซื้อได้ที่หมายเลข 0815612787,0839239741

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สมุนไพรไทย 22 ชนิดขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติ

กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมให้สถานพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ  ใช้ยาสมุนไพรบำบัด รักษาโรคควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน โดยให้มีมากกว่า19 รายการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติรวมทั้งใช้ทดแทนเพื่อลดการนำเข้ายาแผน ปัจจุบันจากต่างประเทศ โดยจะเพิ่มยาสมุนไพรที่สถานพยาบาลผลิตและใช้ในโรงพยาบาลซึ่งยังไม่มีในบัญชี ยาหลักแห่งชาติอีก 22 ราย   นำร่องในสถานพยาบาล 8 จังหวัดภาคกลาง คือ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งสิ้น 66 แห่ง

       น.พ ลือชา วนรัตน์ อธิบดีกรมการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกล่าวถึงยาสมุนไพรไทยให้ฟังว่า มี นโยบายในการเพิ่มมูลค่า การใช้ยาสมุนไพร ไทย ว่ามีนโยบายการเพิ่มมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรให้ได้ร้อยละ 25 ภายในเวลา 5 ปีแต่ที่ผ่านมาการเข้าถึงยาสมุนไพรของประชาชนในสถานบริการสาธาณสุขของรัฐมี มูลค่า 0.8 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดถ้าเปรียบเทียบแล้วไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ของเงินงบประมาณสาธารณสุขของประเทศ


                  

    จากการศึกษา ค่าใช้จ่ายยาสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบันพบว่า ยาไทยหลายชนิดมีค่าใช้จ่ายถูกว่ายาที่มีการนำเข้าหลายเท่า ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่มูลค่าการใช้ยาสมุนไพรในประเทศมีน้อย แต่กลับมีการนำเข้ายา ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ทำให้เงินไหลออกนอกประเทศทั้งที่ สรรพคุณของยาสมุนไพร ในการรักษาได้ผลดี เทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน อีกทั้งมีบางชนิดได้ผลดีกว่ายาแผนปัจจุบันเสียอีก อย่าง เพชรสังฆาต พญายอ


    กัญจนา ดีวิเศษ ผอ. สำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย อธิบายถึง สรรพคุณของยาสมุนไพรที่บรรจุในบัญชีหลักแห่งชาติทั้ง 22 รายการ คือ


1. เจลว่านหางจระเข้   ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์คือวุ้นจากต้นว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยทาบริเวณที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้วันละ 2-3 ครั้ง

            

2.  มะขามแขก   เป็นยาระบายที่ดี ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก โดยรับประทานเมื่อมีอาการท้องผูกแต่ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ขาดสารโพแทสเซียม

          

3. หญ้าหนวดแมว   มีสรรพคุณในการขับปัสสาวะเนื่องจากมีเกลือโพแทสเซียมมากและช่วย รักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ชนิดเป็นกรดยูริกได้ ผู้เป็นโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้สมุนไพรตัวนี้

              

4. เพชรสังฆาต  มีสรรพคุณ ขับลมในลำไส้ช่วยบรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก
  เป็นสมุนไพรที่ต้องทานติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือนถึงจะเห็นผล

                 

5. กระเทียมแคบซูล มีสรรพคุณช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและละลายลิ่มเลือดได้ คนที่เป็นที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารควรระมัดระวังในการใช้เพราะอาจเกิดการ ระคายเคืองได้

                  

6.  ยาตำหรับชื่อว่า "ธรณีสัณฑะฆาต" ซึ่งประกอบตัวยาหลายชนิดด้วยกัน ใช้ในอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ได้แก่ พริกไทยร่อน ยาดำ เนื้อลูกสมอไทย มหาหิงค์ การบูร เนื้อลูกมะขามป้อม กานพลู หัวบุก ขิง ชะเอมเทศ  ลูกกระวาน เมื่อนำตัวยามาผสมกันแล้วจะช่วยในการ แก้ท้องผูก ปวดท้อง เถาตาน ใช้เป็นยากษัยเส้นได้ ข้อควรระวัง คือไม่ควรทำทานสมุนไพรชนิดนี้เมื่อมีไข้ สตรีมีครรภ์ ก็ห้ามทาน

          

7.  ขี้เหล็ก  สรรพคุณทางยา คือ ช่วยแก้อาการท้องผูก เพราะมีสารสำคัญพวก แอนทราควิโนน หลายชนิด ที่ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย อีกทั้งยังช่วยเจริญอาหาร เพราะมีรสขม ช่วยให้อยากทานอาหารยังช่วยให้นอนหลับเพราะมีสารจำพวกอัลคาลอยด์และช่วย บรรเทาอาการเป็นไข้ได้

                 

8. บอระเพ็ด มีสรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ ได้ รวมทั้งรสขม
  จะช่วยในการเจริญอาหาร แต่ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลานาน

                   

9.  มะระขี้นก   มีสรรพคุณช่วย ลดน้ำตาลในเลือด เพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย  รสขม ช่วยเจริญอาหาร

                  

10.  สหัสธารา   ซึ่งมีตัวยามากกว่า 20 ชนิด ผสมอยู่ อาทิ โกฐเขมา โกฐมะพร้าว โกฐพุงปลา เทียนดำ เทียนขาว ลูกจันทร์ ดอกจันทร์ การบูร หัสคุณ เนื้อลูกสมอไทย มหาหิงค์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสูตรที่ใช้ในการถ่ายทอดมาจากโรงเรียนอายุรเวชซึ่งเป็นแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ที่ ศ.นพ. อวย เกตสิงห์ ได้บุกเบิกไว้ซึ่งจะช่วย ในการรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ รวมทั้งอาการชาที่แขนและขา

                           การบูร

11. เหงือกปลาหมอ มีสรรพคุณ ช่วยรักษาผู้ที่มีอาการ ภูมิแพ้ ผื่นคัน
ข้อควรระวัง คือ ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้เหงือกปลาหมอ

                   

12. ลูกยอ มี���ทธิ์ทางยาช่วยแก้อาการวิงเวียนศรีษะ
      หรืออาการอาเจียนแต่ห้ามใช้ในคนที่แพ้ลูกยอ

                   

13.กระชายดำ  มีสรรพคุณ ช่วยในการ ขับลม แก้ท้องอืด และบำรุงร่างกาย

                

14. ส้มแขก   มีสรรพคุณ ช่วยลดคอเลสเตอรอลและลดการสร้างไขมัน
                    แต่ห้ามใช้ในคนที่ท้องเสียง่าย

  

          

          

15.  ตำหรับยา"เทพธารา" ซึ่งมีตัวยาหลายชนิด อาทิ เถาวัลย์เปรียง กำลังวัวเถลิง กำลังเสือโคร่ง กระชายดำ ซึ่งจะช่วย รักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ ปวดข้อ และบำรุงกำลัง 

16. ยาห้าราก หรือเรียกว่า เบญจโลกวิเชียร หรือยาแก้วห้าดวง หรือ ยาเพชรสว่าง ก็เป็นยาตัวเดียวกัน ประกอบไปด้วยตัวยา 5 ชนิด คือ รากเท้ายายม่อม รากคนทา รากย่านาง รากชิงซี และรากมะเดื่อชุมพร  มีสรรพคุณ ลดไข้ และแก้ปวด

                      

17.  น้ำมันไพล  มีสรรพคุณ ช่วยลดอาการอักเสบ แก้ฟกช้ำ บวม เคล็ด ขัดยอก และปวดเมื่อย
      โดยใช้ยาทาบริเวณที่เกิดอาการดังกล่าว

18. ยาแก้ไอมะขามป้อม  ช่วยบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ จิบเมื่อมีอาการ ไอหรือเจ็บคอ

                        

19. ยาผง ดอกคำฝอย มีสรรพคุณ  ลดไขมันในเลือด และลดความดันโลหิต  ช่วยขับเหงื่อ

                                   

                          

20. ยาผงหญ้าดอกขาว  มีสรรพคุณ ช่วยลดการสูบบุหรี่ เนื่องจากมีสารไนเตรดมีฤทธิ์
      ทำให้ประสาทรับรสบริเวณลิ้นรู้สึกชา รวมทั้งแก้ไข้ได้ด้วย

                  

21.  ยาผงชะพลู มีสรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ไอ ละลายเสมหะ


            


22.   เถาวัลย์เปรียง  มีสรรพคุณ  ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ


                   

      ในอนาคตเมื่อมีการ นำสมุนไพรมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น การวิจัยและพัฒนาย่อมเกิดขึ้นตามมา นับเป็นทิศทางที่ดีของสมุนไพรไทย ในเมื่อสมุนไพรไทยมีดีอย่างนี้แล้ว เราควรหันมาใช้กันเยอะๆ เพราะแน่นอนว่านอกจากจะไม่มีผลข้างเคียงแล้ว สรรพคุณในการรักษาโรคนั้นยังดีเยี่ยมไม่แพ้ยาแผนปัจจุบันอีกด้วย

    ขอบคุณ....  ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
   ฉบับวันที่ 6 พค.2553 หน้า 4 โดย ทีมวาไรตี้และ
  ขอบคุณภาพสมุนไพรบางชนิดจากอินเตอร์เน็ต

*****หมายเหตุ   ขอเพิ่มเติมจากบทความของทีมวาไรตี้  ข้อแนะนำการใช้สมุนไพรให้ปลอดภัย จาก  อาจารย์จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก เภสัชกร 8 วช. ฝ่ายวิชาการกองเภสัชกรรม สำนักอนามัย  กทม.

            ข้อแนะนำการในใช้สมุนไพร

1.  ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากและบางท้องถิ่นก็เรียกไม่เหมือนกัน
จึงต้องรู้จักสมุนไพร และใช้ให้ถูกต้น

2. ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก เปลือก ผล เมล็ด
จะมีฤทธิ์ ไม่เท่ากัน บางที่ผลแก่ ผลอ่อน ก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้

3. ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็เป็นอันตราย
หรือเกิดพิษต่อร่างกายได้

4. ใช้ให้ถูกวิธี  สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องปนกับเหล้า
บางชนิดใช้ต้มจะต้องรู้วืธีใช้ให้ถูกต้อง


5. ใช้ให้ถูกกับโรค เช่นท้องผูก ต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน จะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น นอกจากนั้นจะต้องระมัดระวัง ในเรื่องความสะอาดในการเก็บยา การเตรียมยา และเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำยาจะต้องสะอาดด้วย มิฉะนั้นอาจเกิดโรคอื่นติดตามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ยาหม่องไพลอินทน์-จันทน์

ยาหม่องไพล เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ใช้กันทั่วไป เป็นยาทาภายนอกที่ใช้เวลาถูกแมลงกัดต่อย

หรือบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก หรือมีอาการฟกช้าดำเขียว รวมทั้งแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้เคล็ด ขัดยอก

ส่วนประกอบที่มีสรรพคุณทางยา ดังต่อไปนี้

1. น้ามันระก า (methyl salicylate) มีลักษณะเป็นของเหลว คุณสมบัติช่วยคลายกล้ามเนื้อ
แก้อาการปวดเมื่อย ฟกช้ า
2. เมนทอล (menthol) มีลักษณะเป็นผลึกรูปเข็มใส มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการหวัด และ
วิงเวียนศีรษะ
3. การบูร มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวใส มีคุณสมบัติช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย และบรรเทา
อาการหวัดคัดจมูก
4. น้ามันยูคาลิปตัส มีลักษณะเป็นของเหลวใส มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสรรพคุณช่วยบรรเทา
อาการหวัด คัดจมูก

5. น้ามันไพล สรรพคุณและประโยชน์ น้ ามันหอมระเหยในเหง้าพบสารที่สามารถท า ให้กล้ามเนื้อคลายตัว


ราคา ขวด 30 กรัม  ราคาขวดละ 45
                50 กรัม  ราคาขวดละ 65


ของชำร่วยงานศพ งานพิธีต่างๆ ยาดมสมุนไพร ยาหม่องไพล






ราคาของชำร่วย  สั่งซื้อ   50 – 200 ขวด  ราคา  25 บาท/ขวด

                               สั่งซื้อ  500 ขวดขึ้นไป   ราคา 15 บาท/ขวด

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ยาดมสมุนไพรอินทน์-จันทน์ ส่วนประกอบที่สำคัญ

ยาดมสมุนไพรอินทน์-จันทน์ส่วนประกอบที่สำคัญ


๑) ดอกจันทน์เทศ  ดอกจันเทศมีสรรพคุณ ใช้แก้ลม ขับลม แก้บิด บำรุงผิวหนัง
๒) โกศหัวบัว  โกศหัวบัวสรรพคุณแก้ลมในกองริดสีดวง ขับลมในลำไส้  ขับลม แก้ลม บำรุงโลหิต 
๓) กระวาน  กระวานรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม มีฤทธิ์ในการขับลม  และฤทธิ์ในการยับยั้ง การเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด  แก้ลมเจริญอาหาร รักษาโรค รำมะนาด แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ลมสันนิบาต
๔) พริกไทยดำ  พริกไทยดำมีสรรพคุณช่วยขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาการอาหารไม่ย่อย
๕) กานพลู  กานพลู มีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก  มีสรรพคุณ ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด 
๖) พิมเสน พิมเสนมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น สรรพคุณของพิมเสน  มีกลิ่นหอมเย็น ใช้สูตรดมแก้ลมวิงเวียน ทาภายนอกแก้เคล็ดขัดยอก
๗) การบูรเกล็ด การบูรมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาว มีสรรพคุณ ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง  ขับเหงื่อ ทาแก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง
รับทําเว็บไซต์